4 · การจัดวางข้อมูลโดยใช้เฟรม (Frame Titles and Layout)
Web 2.0 Services
การจัดวางข้อมูลภายในเว็บเพจสามารถจัดวางภายในเฟรมซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บในหน้าเพจเดียวได้ ถ้าในเฟรม หรือ i-frameนั้น ไม่มีชื่อเฟรม หรือ i-frameผู้ใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอไม่ทราบว่าใช้งานอยู่ส่วนไหนของหน้าเว็บเพจ หรือ ไม่รู้ได้ว่าโปรแกรมกำลังอ่านเนื้อหาส่วนไหนอยู่ หรือ ผู้ใช้ไม่ทราบว่าโปรแกรมอ่านหน้าจอจะอ่านเนื้อหาส่วนใดต่อไป ดังนั้นจึงนิยมใช้ Cascading Style Sheets (CSS) มากกว่าเฟรม
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.3, W3C WCAG 2.0 2.4 และ W3C WCAG 2.0 3.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
ผลลัพธ์
การทดสอบนี้มี 4 ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้.
0% | ไม่มีการกำหนดชื่อเฟรม ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในเฟรมโดยใช้คีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอ |
33% | มีการกำหนดชื่อเฟรมบางส่วน แต่ไม่สื่อความหมาย ซึ่งมีผลต่อการใช้งานคีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอ |
67% | มีการกำหนดชื่อเฟรม (frame title) และอธิบายชื่อเฟรมอย่างเหมาะสม สามารถใช้งานคีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอได้ |
100% | มีการกำหนดชื่อเฟรมและคำอธิบายเฟรมในทุกตำแหน่งอย่างเหมาะสม และสามารถใช้งานด้วยคีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอได้ หากไม่มีการใช้เฟรมในการจัดวางเนื้อหาเว็บไซต์ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรค |
ผู้พิการ
ผลของการทดสอบนี้จะถูกนำไปพิจารณาเพื่อคำนวณคะแนนการเข้าถึงสำหรับผู้พิการดังต่อไปนี้