Web 2.0 Services เวอร์ชั่น 1 การทดสอบ
Web 2.0 Services
วิธีการที่เราทดสอบ
เกณฑ์การตรวจสอบและการทดสอบบน Web2Access (เวอร์ชั่นไทย) ใช้สำหรับการตรวจสอบในเรื่องการเข้าถึงได้ของเว็บไซต์ต่างๆ แต่ไม่ได้วัดในเรื่องความยากง่ายของการใช้งานของเว็บไซต์ต่างๆ ถ้าจะวัดในเรื่องนี้ ต้องใช้วิธีอื่น คือ Holistic approach (แนวทางแบบองค์รวม)
1
แบบฟอร์มสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบและแบบฟอร์มอื่นๆ (Signup, Login, , and other Forms Accessible)
เช่น ติดต่อเรา (Contact us) กล่องแสดงความคิดเห็น (Feedback form) ช่วยเหลือ (Help form)
การตรวจสอบการใช้งานของแบบฟอร์มสมัครสมาชิก ว่าหลังจากสมัครสมาชิกแล้วสามารถเข้าสู่ระบบได้หรือไม่ การเข้าถึงและออกจากแบบฟอร์ม สามารถเข้าถึงได้โดยใช้คีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader: NVDA, JAWS, Voiceover) มีป้ายชื่อ (label) แบบฟอร์มที่ชัดเจนและสื่อความความหมายที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย
แหล่งอ้างอิง: ( (W3C WCAG 2.0 2.1 , W3C WCAG 2.0 2.4, CAPTCHA W3C WCAG 2.0 1.1 and W3C WCAG 2.0 3.3 )
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการ มองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
2
การกำหนดคำอธิบายรูปภาพ (Image ALT Attributes)
เมื่อมีการใช้รูปภาพบนเว็บไซต์ จำเป็นที่จะต้องมี การกำหนดคำอธิบายรูปภาพ (‘alt' tag) ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader) สามารถได้ยินคำอธิบายเกี่ยวกับรูปภาพนั้น ๆ ได้ หากไม่มีการกำหนดคำอธิบายรูปภาพนั้นไว้ โปรแกรมอ่านหน้าจอก็ไม่สามารถอ่านไฟล์ภาพนั้นได้
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.1.1)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
3
เมนูและข้อความที่ใช้เชื่อมต่อหน้าเว็บ (Link Target Definitions)
เมื่อมีการใช้งานเมนูหรือข้อความในการนำทาง (link) ไปยังเว็บไซต์อื่น หรือ ส่วนอื่น ๆ ในเว็บไซต์เดียวกัน เมนูและข้อความที่ใช้จะต้องสื่อความหมายและเข้าใจง่าย และสามารถเชื่อมโยง (link) ได้จริง แผนผังของเว็บไซต์ (navigator)และฟังก์ชั่นการค้นหาถือเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูล
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 2.4, W3C WCAG 2.0 4.1,W3C WCAG 2.0 3.2 และ WCAG 2.4.5)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาบางส่วน ผู้ที่มีปัญหาในการเรียน
4
การจัดวางข้อมูลโดยใช้เฟรม (Frame Titles and Layout)
การจัดวางข้อมูลภายในเว็บเพจสามารถจัดวางภายในเฟรมซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บในหน้าเพจเดียวได้ ถ้าในเฟรม หรือ i-frameนั้น ไม่มีชื่อเฟรม หรือ i-frameผู้ใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอไม่ทราบว่าใช้งานอยู่ส่วนไหนของหน้าเว็บเพจ หรือ ไม่รู้ได้ว่าโปรแกรมกำลังอ่านเนื้อหาส่วนไหนอยู่ หรือ ผู้ใช้ไม่ทราบว่าโปรแกรมอ่านหน้าจอจะอ่านเนื้อหาส่วนใดต่อไป ดังนั้นจึงนิยมใช้ Cascading Style Sheets (CSS) มากกว่าเฟรม
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.3, W3C WCAG 2.0 2.4 และ W3C WCAG 2.0 3.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
5
การลบ Cascading Style Sheets หรือ CSS (Removal of Stylesheet)
การใช้ Cascading Style Sheets หรือ CSS ช่วยในการจัดวางรูปแบบภายในเว็บไซต์ที่หลากหลาย นำเสนอเนื้อหาได้ง่าย นอกจากการใช้เฟรมและตาราง
หากมีการใช้ CSS ในการออกแบบเว็บไซต์จะต้องมีโครงสร้างที่ดี ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้เปลี่ยน ขนาด สี ของรูปแบบข้อความ พื้นหลัง และสามารถอ่านเนื้อหาได้ตามลำดับ
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.3 และ W3C WCAG 2.0 3.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
6
เสียง / เสียงในวิดีโอ (Audio / Video Features)
สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัส เช่น หูหนวก หรือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะต้องมีการเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงข้อมูลเสียง หรือ วิดีโอที่มีเสียง เช่น มีการจัดเตรียมคำอธิบายในรูปแบบข้อความ (text transcripts) คำบรรยายใต้วิดีโอ (captioning) และภาษามือ (sign language)
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: คนหูหนวก, ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
7
วิดีโอ / ภาพเคลื่อนไหว – การบรรยายด้วยเสียง(Video / animations - audio descriptions)
คำบรรยายด้วยเสียง (audio descriptions) ถือเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ในการรับชมวิดีโอ หรือ สื่อภาพเคลื่อนไหวที่ไม่มีบทสนทนาบรรยาย
การเพิ่มข้อความอธิบาย (text transcripts) ช่วยให้โปรแกรมอ่านหน้าจอสามารถอ่านข้อความได้
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาบางส่วน ตาบอดสี
8
การใช้งานตารางที่เหมาะสม (Appropriate use of Tables)
การออกแบบรูปแบบการจัดวางเนื้อหาของเว็บไซต์สามารถจัดวางอยู่ในรูปแบบตารางได้ แต่อาจส่งผลต่อโปรแกรมอ่านหน้าจอ เนื่องจากโปรแกรมอ่านหน้าจอจะอ่านข้อมูลจากซ้ายไปขวา ในกรณีที่มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง โปรแกรมอ่านหน้าจออาจอ่านหัวตาราง (table heading) เพียงครั้งเดียว และอ่านข้อมูลในแถวถัดไปโดยไม่มีการอ่านหัวตารางซ้ำ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องจดจำเองว่าข้อมูลเหล่านั้นเกี่ยวกับอะไร
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสร้างตารางให้ง่ายไม่ซับซ้อน
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.3 และ W3C WCAG 2.0 3.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
9
ลำดับการทำงานของแท็บมีความถูกต้องและเป็นไปตามลำดับ (Tab Orderings Correct and Logical)
การกดปุ่มแท็บ (tab) เป็นการนำทางไปยังเมนูและการเชื่อมโยงต่างๆ (link) ภายในเว็บไซต์เท่านั้น แต่การเข้าถึงเนื้อหาจะต้องใช้คีย์ลัดของโปรแกรม NVDA
บางเว็บไซต์มีการสร้างลิงค์ “skip navigation” เพื่อข้ามส่วนเมนูไปยังเนื้อหาหลักที่ต้องการ
ถึงแม้จะทำการลบสไตล์ชีท (style sheet) เฟรม (frame) หรือ ตาราง (table) ออก การลำดับเนื้อหาของข้อมูลในหน้าเว็บไซต์จะต้องเป็นไปตามลำดับเนื้อหาเดิม
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.3, W3C WCAG 2.0 2.1, W3C WCAG 2.0 2.4 และ W3C WCAG 2.0 3.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด ผู้ที่สามารถมองเห็นได้บางส่วน ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนย้าย
10
การใช้งานฟังก์ชั่นโดยใช้คีย์บอร์ด (Page Functionality with keyboard)
ฟังก์ชั่นการใช้งานบนเว็บไซต์ เช่น ปุ่มบันทึก (save) ปุ่มลบ (delete) ปุ่มแก้ไข (edit) สามารถเข้าถึงได้ด้วยคีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader: NDVA, JAWS, Voiceover)
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 2.1, W3C WCAG 2.0 2.4, W3C WCAG 2.0 1.1 และ W3C WCAG 2.0 3.2)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
11
การเข้าถึงโปรแกรมแก้ไขข้อความ (Accessibility of Text Editors)
หลายเว็บไซต์อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแก้ไข ข้อความ รูปภาพ หรือ สื่อมัลติมีเดียอื่น ๆ บนเว็บไซต์ได้ ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ (Html Text Editors) แต่มีเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยคีย์บอร์ด เช่น TinyMCE, QUIW, Aloha, และ Froala
ให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความตามต้องการ เหมือนกับการปรับเปลี่ยนใน Microsoft word ปัญหาคือ มีแค่บางโปรแกรม ที่สามารถเข้าถึงได้โดยใช้คีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมการเข้าถึงข้อความที่ดีได้แก่ TinyMCE
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 2.1, W3C WCAG 2.0 2.4, W3C WCAG 2.0 1.1, W3C WCAG 2.0 3.2 และ W3C WCAG 2.0 4.1)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
12
ข้อความตอบกลับที่เหมาะสม (Appropriate Feedback with Forms)
เมื่อผู้ใช้มีการส่งข้อความ หรือ คำตอบต่าง ๆ ผ่านแบบฟอร์ม ระบบควรจะมีการส่งข้อความตอบกลับที่เหมาะสมและเข้าใจง่าย มีข้อความแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด และผู้ใช้สามารถกลับไปยังหน้าเว็บเพจเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดได้
หากมีการส่งข้อมูลผ่านแบบฟอร์ม ต้องไม่มีการจำกัดเวลาในการใช้งาน
แหล่งอ้างอิง: . (W3C WCAG 2.0 2.2, W3C WCAG 2.0 2.4 และ W3C WCAG 2.0 3.3)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด
13
การตรวจสอบสี และความแตกต่างของสี (Contrast and Colour Check)
การเลือกใช้สีของตัวอักษรและพื้นหลังจะต้องตัดกันในระดับที่เหมาะสม การใช้สีสัญลักษณ์ เช่น โลโก้ ตะกร้าสินค้า ไม่ควรจะใช้หลากหลายสี เนื่องจากอาจส่งผลต่อผู้ที่มีปัญหาเรื่องการแยกแยะสีตัวอักษรควรมีความคมชัด อ่านง่าย
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.4).
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด ตาบอดสี
14
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเนื้อหา ในกรณีที่มีการขยายหน้าจอ หรือ ปรับขนาดข้อความ (Page Integrity when Zooming)
เบราว์เซอร์ส่วนใหญ่สามารถขยายข้อความและรูปภาพได้ ผ่านฟังก์ชั่นการขยายหน้าจอและปรับขนาดข้อความได้ ฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากนักพัฒนาเว็บไซต์มักจะลดขนาดตัวอักษร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและผู้สูงอายุ การขยายหน้าจอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านได้ แต่บางครั้งอาจส่งผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.4)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาบางส่วน และ ผู้ที่มีความเครียดเมื่อใช้สายตาเป็นจำนวนมาก
15
ขนาดข้อความ รูปแบบ ข้อความกระพริบ (Text size, style, blinking elements and Readability)
ภาพเคลื่อนไหว ภาพกระพริบ อาจทำให้เกิดการสะดุดในการเข้าถึงข้อมูลได้ ฉะนั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งอาจทำให้เสียสมาธิ ส่งผลกระทบต่อการอ่านเนื้อหาส่วนอื่นๆ ผู้สูงอายุมีปัญหาในการเข้าถึงตัวอักษรที่มีขนาดเล็ก รูปแบบ “san-serif” เนื้อหาที่แสดงบนเว็บไซต์ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผู้ที่หูหนวกมาตั้งแต่กำเนิด หรือ ผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้
แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 2.3 และ W3C WCAG 2.0 3.1)
กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาบางส่วน, ผู้ที่มีความเครียดเมื่อใช้สายตาเป็นจำนวนมาก, ผู้ที่มีปัญหาตาบอดสี และ คนหูหนวก