8 · การใช้งานตารางที่เหมาะสม (Appropriate use of Tables)

การออกแบบรูปแบบการจัดวางเนื้อหาของเว็บไซต์สามารถจัดวางอยู่ในรูปแบบตารางได้ แต่อาจส่งผลต่อโปรแกรมอ่านหน้าจอ เนื่องจากโปรแกรมอ่านหน้าจอจะอ่านข้อมูลจากซ้ายไปขวา ในกรณีที่มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง โปรแกรมอ่านหน้าจออาจอ่านหัวตาราง (table heading) เพียงครั้งเดียว และอ่านข้อมูลในแถวถัดไปโดยไม่มีการอ่านหัวตารางซ้ำ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องจดจำเองว่าข้อมูลเหล่านั้นเกี่ยวกับอะไร

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสร้างตารางให้ง่ายไม่ซับซ้อน

แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 1.3 และ W3C WCAG 2.0 3.2)

กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรงและคนตาบอด

ผลลัพธ์

การทดสอบนี้มี 4 ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้.

0% มีการใช้ตารางในการจัดวางรูปแบบเว็บไซต์ (table layout) แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
33% มีการใช้ตารางข้อมูลในเว็บไซต์ (data table) แต่ไม่ได้กำหนดชื่อหัวตาราง (table headers) ของแถว และคอลัมน์ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โปรแกรมอ่านหน้าจออ่านหัวตารางและคอลัมน์เพียงครั้งเดียว ยากต่อการจดจำข้อมูล
67% มีการใช้ตารางข้อมูลในเว็บไซต์ มีการกำหนดชื่อหัวตาราง (table headers) ของแถวและคอลัมน์ โปรแกรมอ่านหน้าจออ่านได้ แต่ไม่สื่อความหมายในบางหัวข้อ
100% มีการกำหนดชื่อหัวตาราง (table headers) สามารถเข้าถึงเนื้อหาในตาราง (data table) ได้โดยใช้คีย์บอร์ด และโปรแกรมอ่านหน้าจอ หรือไม่มีการใช้ตารางในการจัดวางรูปแบบเว็บไซต์ด้วยตาราง (table layout) ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล

ผู้พิการ

ผลของการทดสอบนี้จะถูกนำไปพิจารณาเพื่อคำนวณคะแนนการเข้าถึงสำหรับผู้พิการดังต่อไปนี้