15 · ขนาดข้อความ รูปแบบ ข้อความกระพริบ (Text size, style, blinking elements and Readability)

ภาพเคลื่อนไหว ภาพกระพริบ อาจทำให้เกิดการสะดุดในการเข้าถึงข้อมูลได้ ฉะนั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งอาจทำให้เสียสมาธิ ส่งผลกระทบต่อการอ่านเนื้อหาส่วนอื่นๆ ผู้สูงอายุมีปัญหาในการเข้าถึงตัวอักษรที่มีขนาดเล็ก รูปแบบ “san-serif” เนื้อหาที่แสดงบนเว็บไซต์ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผู้ที่หูหนวกมาตั้งแต่กำเนิด หรือ ผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้

แหล่งอ้างอิง: (W3C WCAG 2.0 2.3 และ W3C WCAG 2.0 3.1)

กลุ่มที่นำไปใช้ในประเมิน: ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาบางส่วน, ผู้ที่มีความเครียดเมื่อใช้สายตาเป็นจำนวนมาก, ผู้ที่มีปัญหาตาบอดสี และ คนหูหนวก

ผลลัพธ์

การทดสอบนี้มี 4 ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้.

0% ตัวอักษรมีขนาดเล็กกว่า 10 พอยต์ ใช้รูปแบบอักษร san-serif ไม่สามารถอ่านได้ มีข้อมูลกระพริบ ส่งผลต่อการอ่านอย่างรุนแรง มีการใช้ภาษาที่ซับซ้อนมาก
33% ตัวอักษรมีขนาดเล็กกว่า 12 พอยต์ มีการใช้ตัวอักษรทั้งแบบ serif และ san-serif ผสมกัน ใช้ภาษาที่ซับซ้อน มีข้อมูลกระพริบมาก ส่งผลต่อการอ่าน
67% ข้อความส่วนใหญ่มีขนาด 12 ถึง14 พอยต์ มีการใช้งานตัวอักษร san-serif บางส่วน มีข้อมูลกระพริบเล็กน้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อการอ่าน
100% เนื้อหาทั้งหมดใช้ตัวอักษรแบบ serif มีการใช้ขนาดตัวอักษรปกติในส่วนเนื้อหา (14 ถึง 16 พอยต์) ตลอดทั้งเว็บไซต์ ไม่มีข้อมูลกระพริบ หากมีไม่ส่งผลกระทบต่อการอ่าน